นัด 24 ออนช๊อป
ID.@bwk1208w
ร้าน ใจชนะ เซอร์วิส
ติดต่อเรา


เตรียมตัวก่อนเริ่มต้นธุรกิจ


     ธุรกิจเริ่มต้น (Start-up Business) เป็นธุรกิจที่ก่อตั้งไม่เกิน 3 ปี การเริ่มต้นธุรกิจ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เริ่มต้นก่อตั้งขึ้นมาเอง ซื้อแฟรนด์ไชส์ หรือเป็นกลุ่มวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ โดยรูปแบบธุรกิจนั้น อาจเป็นได้ตั้งแต่เป็นบุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนพาณิชย์ (หรือที่เรียกกันว่าทะเบียนการค้า) หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น หจก. หรือ บริษัท จำกัด เป็นต้น


ก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ คุณควรตั้งคำถามเหล่านี้กับตนเอง 

 1.  แน่ใจนะว่าคุณผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์คนซื้อ 
 2.  ผลิตแล้วคุณรู้เรื่องการทำตลาดที่ดีพอ 
 3.  ลูกค้าของคุณคือใคร 
 4.  แล้วคุณจะเข้าถึงลูกค้าที่ว่าของคุณด้วยช่องทางไหน 
 5.  ลูกค้าของคุณยอมจ่ายเงินเพื่อสินค้าของคุณหรือเปล่า 
 6.  คุณบริหารต้นทุนให้เหมาะสมได้ไหม 
 7.  คุณมีทรัพยากรทั้งหลายที่จะทำให้กิจการนี้เกิดขึ้นได้ไหม 
 8.  สินค้ามีจุดเด่นอะไร ที่จะดึงดูดให้ลูกค้าซื้อ 
 9.  คุณสามารถก้าวขึ้นแท่นผู้นำในธุรกิจนี้หรือไม่ 
10.  แล้วควรจะเริ่มต้นจากตรงไหนดี 

 

วิธีการเริ่มต้นแบบมืออาชีพ

 

การผลิต คิดให้รอบคอบ

     ปัจจัยสำคัญของการผลิตมีอยู่ 4 อย่างคือ ทรัพยากร แรงงาน เงินทุน และผู้ประกอบการ โดยการบริหารการผลิตนั้นจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนจะมีการผลิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการวางแผนสิ่งที่จะผลิตและวิธีการผลิตตามความต้องการของตลาดจะต้องประสานงานระหว่างคน เงิน เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการบริหารธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ 
  
การตลาด ขาดไม่ได้

     การตลาดเปรียบเหมือนทัพหน้าของแต่ละธุรกิจ จะอยู่รอดปลอดภัยและเติบโตหรือไม่จากแหล่งเงินทุนที่ผลิตสินค้าและปั้นบริการขึ้นมา โดยต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนทางการตลาดนั้นเป็นสำคัญคือ Product(ผลิตภัณฑ์) Price(ราคา) Place(สถานที่) Promotions(การสนับสนุนการขาย) 
 
งานบุคคลเพื่อผลสัมฤทธิ์

    ปัญหาหนึ่งของธุรกิจเอสเอ็มอี คือไม่สามารถหาคนที่เหมาะสมมาทำงานได้ หรือพนักงานอยู่ไม่นานก็ลาออก เพราะการทำงานในธุรกิจเอสเอ็มอี จะต้องทำงานหนัก ทำงานหลายด้าน และค่าตอบแทนไม่สูงมาก จึงมีความสำคัญในเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งการอบรม การหาผลตอบแทนที่คุ้มค่า และ การต้องเลือกใช้คนให้ถูกต้อง 

 
  
การเงิน เมินไม่ได้

     ธุรกิจหลายประเภทมีนักการตลาดที่มีความสามารถ แต่มุ่งที่จะหารายได้เข้ามาสู่กิจการโดยการขายให้มากที่สุด โดยอาจละเลยการวางแผนด้านการเงินและบัญชี จึงอาจทำให้สูญเสียธุรกิจไปได้ ทั้งนี้ควรมีการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง โดยมีการบันทึกงบกระแสเงินสด. ควรจัดแยกบัญชี และหลีกเลี่ยงการสร้างภาระหนี้สินนอกระบบ ทั้งพยายามรักษาเครดิตทางการค้า เพื่อโอกาสในสินเชื่อในอนาคต 
 
  
สินค้าคงคลัง อย่างไรจึงเหมาะ


      การพิจารณาถึงปริมาณของสินค้าคงคลังในระดับที่ถูกต้องนั้น เป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องดูจุดมุ่งหมายหลักในการมีสินค้าคงคลัง ถ้าวงจรชีวิตสั้น ไม่ควรมีปริมาณสินค้าคงคลังมาก ทั้งนี้ความนิยมในตัวสินค้า จะเป็นตัวหนึ่งในการกำหนดปริมาณสินค้าที่ดี และเทคโนโลยีอาจจะเป็นตัวช่วยในการบริหารสินค้าที่ดีอย่างหนึ่ง 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ www.kasikornbank.com


วันที่เขียนบทความ: 21 ธันวาคม 2555 เวลา: 10:35:55 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 21 ธันวาคม 2555 เวลา: 10:35:55 น.



กลับหน้าบทความ