l เข้าสู่ระบบ l สมัครสมาชิก | ร้านค้าสมาชิก l ช่วยเหลือ l


ร้านใจชนะ เซอร์วิส

199/112 ม.5 หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า ซ.จตุรมิตร 9 ถ.เทพารักษ์ กม.12 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: Office:089 688 2689 มือถือ: 089 688 2689



เปิดร้านค้า 16 มิถุนายน 2554      
สินค้าทั้งหมด : 80 รายการ;    สถิติผู้ชม : จำนวน 2,438,919 คน
     
หน้าร้านค้า       บทความ       วิธีชำระเงิน       เกี่ยวกับเรา / ติดต่อเรา      


ชีววิทยาของหนู (Rat)


หนู (RAT) หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีความฉลาด ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย เคลื่อนไหวเร็ว หลบซ่อนตัวเก่ง และขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนูที่พบในประเทศไทย มีประมาณ 36 ชนิด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ 
1. หนูพุก (Rattus Norvegicus) ได้แก่หนู่นอรเวย์ พบทั่วโลก เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูขี้เรื้อน เป็นต้น มักอาศัยอยู่ตามกองขยะ ท่อระบายน้ำ ใต้ถุนอาคาร กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบว่ายน้ำ เป็นหนูขนาดใหญ๋ จมูกทู่ หูเล็กสั้น ตัวเมียมีเต้านม 6 คู่ หางสั้นกว่าหัวและลำตัวรวมกัน ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเท่า ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ออกลูกปีละ 4-7 ครอก ครอกหนึ่งมีจำนวน 8-12 ตัว 
2. หนูท้องขาว (Rattus Rattus) พบทั่วไปตามสวน หรือท้องนาในชนบท ชอบทำรังบนต้นไม้ เพดานบ้าน บางครั้งเรียกว่า หนูหลังคา (Roof Rat) เป็นหนู่ที่ชอบทำลายพืชผลทางการเกษตร ในโรงเก็บ ชอบกินผลไม้ แมลงและหอย เป็นหนู่ขนาดกลาง รูปร่างเพรียว ว่องไว ปราดเปรียว ขนอ่อนนุ่มเป็นเงา จมูกแหลม หูใหญ่ยาว ตาโปน ตัวเมียมีเต้านม 5-6 คู่ หางจะยาวเท่ากังหัวและลำตัวรวมกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หรือเหลืองอ่อน หรือเหลืองอ่อนๆ ขนใต้ท้องสีขาวครีม ออกลูกปีละ 4-6 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 6-8 ตัว 
3. หนูหริ่ง (Mus Musculus) บางครั้งเรียกว่า House Mouse เป็นหนู่ขนาดเล็ก ทำรังในบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามลิ้นชักตู้ หรือตามซอกมุม ในห้องรับแขก กินอาหารได้ทุกชนิด ชอบกินเมล็ดพืช ข้าว ขอบกัดกระดาษ เสื้อผ้า แทะขอบตู้เตียง หรือสายไฟ มีจมูกแหลม ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ แล้วแต่ละชนิด หางจะยาวว ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเทา ด้านใต้ท้องสีเทาอ่อน ออกลูกปีละประมาณ 8-10 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 5-6 ตัว 
4. หนูจี็ด (Rattus Exulans) เป็นตระกลูของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนู่หริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ 16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่ 

ลักษณะรูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (Spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบ ไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด 

มีถิ่นที่อยู่อาศัยตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาของอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว 

กินอาหารได้ทุกชนิด ออกหากินตอนกลางคืนจะส่งเสียงร้อวจี็ดๆ ให้ได้ยิน การแพร่พันธุ์ตัวเมียออกลูกครั้งละ 8-12 ตัว



หลักการป้องกันและกำจัดหนูหนูเป็นสัตว์ค่อนข้างฉลาด และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอยางดี ทั้งยังแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นการหาทางป้องกันและกำจัดให้ได้ผลต้องมีวิธีการที่แน่นอนถูกต้องตามหลักวิชาการ และต้องปราบอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถจะลดประชากรของหนู่ลงได้ โดยมีหลักการดังนี้ 
1. ป้องกันโดยการปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลบ้านเรือน เพื่อเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของหนู โดย
1.1 การใช้สุขาภิบาลที่ดี เช่น รักษาความสะอาด ไม่ให้มีเศษอาหารเหลืออยู่ ถังขยะต้องมีฝาปิดมิดชิด จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เป็นที่หลบอาศัย
1.2 ป้องกันไม่ให้มี่ช่องทางเข้าออกสู่อาคาร เช่น ต้องมีการซ่อมแซมหรืออุดรูรั่ว หรือรูโหว่ต่างๆ ไม่ให้หนูเข้าสู่ภายในอาคารได้
2. การปราบหนูต้องทำอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ เพราะหนูเพิ่มจำนวนรวดเร็ว ถ้าไม่ทำเป็นประจำจะทำให้ควบคุมยาก
3. การปราบปรามต้องร่วมมือกันทุกด้าน เช่น ทุกบ้านจะต้องทำการปราบปรามร่วมกัน
4. พื้นที่ในการปราบปรามต้องกว้างขวางและกินบริเวณกว้าง เนื่องจากหนู่เคลื่อนย้ายได้รวดเร็วมาก และหากินได้ใกล
5. การใช้สารเคมี โดยใช้เป็นเหยื่อพิษ ซื่งมีทั้งชนิด เหยื่อพิษตายช้า และตายเร็ว
6. การใช้เสียงขับไล่หนู เช่น เสียงอัลตราซาวด์
7. การใช้กับดัก กาวดัก หรือ กรงดัก
8. การควบคุมโดยวิธีธรรมชาติ เช่น เลี้ยงแมว งู หรือ นกเค้าแม้ว หรืออืนๆ


วันที่เขียนบทความ: 06 เมษายน 2555 เวลา: 12:53:06 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 14 ตุลาคม 2555 เวลา: 13:38:57 น.




กลับหน้าบทความ