ชีววิทยาของมด (Ant)
ชีววิทยาของมดเป็น "แมลงสังคม" ซึ่งจะรวมกันเป็นหมูเหล่าประกอบด้วย
1. มดงาน (WORKER)
2. มดตัวผู้ (MALE)
3. มดตัวเมียหรือนางพญา (QUEEN)
1. มดงาน (WORKER) เป็นมดเพศเมีย เป็นหมัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามขนาด ขนาดใหญ่จะทำหน้าที่เป็นมดทหารต่อสู้ป้องกันรัง ขนาดเล็ก จะทำหน้าที่เป็นมดงานหาอาหารเลีัยงพลรัง ก่อสร้างรัง มดงานมีอายุยืนยาวประมาณ 4 - 7 ปี สังคมของมดกลุ่มๆ หนี่งจะมีอายุนานกว่ามนุษย์
2. มดตัวผู้ (MALE) เป็นมดมีปีก มีขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อปีกที่บริเวณอกใหญ่ จะทำหน้าที่สืบพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะตายภายใน 1 - 2 วัน ส่วนใหญ่จะถูกฆ่าหรือทิ้งให้อดอาหารตาย เพราะไม่มีประโยชน์ในรังอีกต่อไปภายหลังผสมพันธุ์แล้ว
3. มดตัวเมีย (QUEEN) มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัง มีปีก มีหน้าที่ออกไข่เพิ่มประชากรมดเพียงอย่างเดียว ตัวอ่อนของมดจะคล้ายหนอน ไม่มีขา ตัวเล็ก ซึ่จะพัฒนา เป็นมดงาน นางพญามดจะมีชีวิตอยู่ได้นาน 1 -2 ปี จนถึง 12 - 15 ปี ในรังมดรังหนึ่งจะมีมีนางพญามดได้มากกว่า 1 ตัว การดำรงชีวิตของมด มดกินอาหารเกือบทุกชนิด เช่น หวาน ไขมัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ทุกชนิด มดบางชนิดมีวัฒนาการสูง สามารถดูดน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานขอวพืชแล้วสะสมน้ำหวานไว้เป็นของมัน
การป้องกันและกำจัดมด
1. ควบคุมโดยใช้หลักสุขาภิบาล เช่น ทำความสะอาดอย่าให้มีเศษอาหารหรือกลิ่นอาหาร
2. ควบคุมโดยหลักการป้องกันไม่ให้เข้ามา เช่น หล่อน้ำรอบอาคาร หรือขาโต็ะ
3. ควบคุมโดยใช้สารเคมี เช่น โรยสารเคมีรอบอาคาร หรือฉีดพ่นภายในอาคาร หรือใช้เหยื่อพิษ
- การใช้สารเคมีชนิดสารละลาย สูตร EC หรือ SC
- การใช้สารเคมีชนิดผง
- การใช้แก๊ส
- การสร้างแนวป้องกันปลวกก่อนการก่อสร้าง
เมื่ออาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง การปฎิบัติควรทำให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเดียวกัน ถ้ามีการเพิ่มเติม ควรมีการปฎิบัติซ้ำอีก เพื่อให้แน่ใจว่าการฉีดสารเคมีครอบครุมทุกจุดของพื้นที่ก่อสร้าง ไม่มีการละเว้นจุดใดหรือมุมใดของอาคาร เพราะถ้าละเว้น อาจเป็นจุดหรือทางผ่านของปลวกเข้าสู่อาคารได้ หลังการก่อสร้างโดยการเจาะพื้นอาคารแล้วอัดสารเคมีลงไปให้ครอบคลุมทุกพื้ันที่ ของใต้อาคารด้วยสารเคมีทั้งหมดเช่นกัน
วันที่เขียนบทความ: 06 เมษายน 2555 เวลา: 12:54:58 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 14 ตุลาคม 2555 เวลา: 13:37:37 น.
กลับหน้าบทความ