l เข้าสู่ระบบ l สมัครสมาชิก | ร้านค้าสมาชิก l ช่วยเหลือ l


ร้านใจชนะ เซอร์วิส

199/112 ม.5 หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า ซ.จตุรมิตร 9 ถ.เทพารักษ์ กม.12 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: Office:021 868 076 มือถือ: 089 688 2689



เปิดร้านค้า 16 มิถุนายน 2554      
สินค้าทั้งหมด : 80 รายการ;    สถิติผู้ชม : จำนวน 2,387,999 คน
     
หน้าร้านค้า       บทความ       วิธีชำระเงิน       เกี่ยวกับเรา / ติดต่อเรา      


วิธีจัดการ เจ้าปลวกวายร้าย กัดกินบ้าน


วิธีจัดการ เจ้าปลวกวายร้าย กัดกินบ้าน
       บ้านของเราเมื่ออยู่ไปนานวันเข้า ก็ย่อมมีวันที่ต้องเสื่อมสภาพ หรือผุพังเป็นธรรมดา แต่หากต้องผุพัง เพราะเจ้าปลวกจอมวายร้ายแล้วล่ะก้อ เรามีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ในการรับมือ และจัดการกับแมลงตัวเล็กแต่พิษภัยเกินตัวมาฝากกันบ้านครับ

ปลวกคืออะไร?
       ปลวกเป็นแมลงที่อยู่กันเป็นกลุ่มมีสังคมต่างๆ แบ่งเป็นวรรณะได้แก่ ปลวกงาน ปลวกทหาร ปลวกสืบพันธุ์ ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ความที่ปลวก (Termite) มีรูปร่างคล้ายมดและมีสีค่อนข้างขาวซีด จึงมีชื่อเรียกบางชื่อว่า White ant ทั้งทีจริงๆ แล้วปลวกจัดอยู่ในอันดับ Isopthera ส่วนมด ผึ้ง ต่อ แตน นั้นจัดอยู่ในอันดับ Hyminoptera เพราะปลวกมีส่วนท้องกว้างกว่าอก ซึ่งผิดกับมดที่ส่วนท้องตอนที่ติดกับอกคอดกิ่ว ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบชนิดของปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล ส่วนในประเทศไทยเองพบว่ามีปลวกอยู่นับร้อยชนิดซึ่งยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 
       1.ปลวกใต้ดิน อาศัยทำรังอยู่ในใต้ดินโดยทั่วไป เป็นปลวกที่ทำอันตรายต่อตัวบ้านได้มากที่สุด สามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของบ้านได้สูงถึง 95% เลยทีเดียว 
       2.จอมปลวก ถือว่าเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่สุด รังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง 6 เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 5 ล้านตัว 
       3.ปลวกตามรังขนาดเล็ก ปลวกประเภทนี้ จะอาศัยทำรังอยู่กับซากไม้ต่างๆเจ้าปลวกทั้งหลายยังอาศัยกันเป็นสังคมและแบ่งแยกหน้าที่กันอีกต่างหาก ในปลวกแต่ละประเภทมีสิ่งที่เหมือนกันคือ การแบ่งวรรณะเพื่อแยกกันทำตามหน้าที่ของตัวเอง แต่ว่าก็มีความสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่น 
       - ปลวกนางพญา และราชาหรือเรียกอีกอย่างว่าปลวกสืบพันธุ์ ทำหน้าที่วางไข่เพิ่มประชากรในรัง ว่ากันว่ามันสามารถวางไข่ได้ถึง 14 ฟองภายใน 3 วินาทีเลยทีเดียว ลองคิดดูก็แล้วกันครับว่า ผ่านไปสักเดือนจำนวนจะเพิ่มขึ้นขนาดไหน หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานปลวกนางพญาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยจนไม่สามารถขยับตัวได้ 
       - ปลวกทหาร เป็น "ปลวก" ตัวเล็กแต่มีขนาดของหัว ที่โตและมีขากรรไกรซึ่งแข็งแรงมาก ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ คอยทำหน้าที่ปกป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับรัง หรืออาณาจักรของมัน โดยมีศัตรูสำคัญ คือ "มด" 
       - ปลวกงาน เป็น "ปลวก" ตัวเล็ก ไม่มีปีก ไม่มีเพศ และไม่มีตา มันจะทำงานทุกชนิด ตั้งแต่การขยายรัง อาณาจักรและหาอาหาร โดยการกัดกินเนื้อไม้ ซึ่งจะมีเซลลูโลส เป็นอาหารชั้นยอด ตลอดจนหาน้ำกลับเข้ารัง ทำหน้าที่หาอาหาร สร้าง ซ่อม ขยายรัง และทางเดิน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ปิดทางเข้าออกของรังอย่างมิดชิด 
       ในขณะที่อากาศภายนอกมีความชื่นต่ำ ปลวกใต้ดินจะปรับอาการในรังหรือทางเดินให้เหมาะสม โดยทำรังในดินที่มีความชื้น และมักจะเดินกลับเข้ารังวันละหลายๆ เที่ยวในพื้นที่ชื้น และนี่คือวิธีปลวกนำความชื้นสูงเข้าสู่รังได้จำนวนของปลวกงานจึงมีมากที่สุดในจำนวนปลวกทั้งหมด 
       อาหารที่โปรดปรานของบรรดาปลวกทั้งหลายก็คือเซลลูโลส (Cellulose) ที่อยู่ในเนื้อไม้ กระดาษ ผ้า หนังสัตว์ พรม หนังสือ ฯลฯ ที่หาพบได้ในบ้านทั่วไป นอกจากนี้ ปลวกยังเป็นแมลงที่ต้องอาศัยความชื้นเพื่อให้เกิดน้ำในลำตัวตลอดเวลา 

วิธีป้องกันปลวก 
       1. ก่อนก่อสร้าง โดยอัดเคมีลงดินให้รอบแนวคานด้านใน-นอก และฉีดเคลือบผิวดินในทุกๆ ตารางนิ้ว รวมทั้งโดยรอบของตัวอาคาร 1 เมตร และบริเวณที่มีความชื้นสูง แต่เมื่อนานวันเข้า สารเคมีพวกนี้ก็จะสลายไปตามธรรมชาติ และการกัดเซาะของน้ำ 
       2. อัดน้ำยาผ่านระบบท่อใต้อาคาร ท่อนี้ต้องมีการทำตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง โดยท่อจะเดินตามคาน และเจาะรูที่ท่อเป็นระยะๆ แต่ท่อจะไม่สัมผัสกับดิน เนื่องจากอาจทำให้ท่ออุดตันได้ ระบบนี้จะสะดวกมากกว่าถ้าเกิดน้ำยากันปลวกชุดแรกที่ฉีดหมออายุก็สามารถฉีดชุดสองได้ทันทีเมื่อถึงกำหนดเวลา 
       3. กรณีที่ไม่ได้เตรียมท่อน้ำยาไว้ตั้งแรก ต้องตรวจหากองดิน หรือทางเดินของปลวกให้ค้นหาถึงจุดที่ปลวกขึ้นมา และทำลายทิ้งด้วนน้ำยาหรือสเปรย์ฆ่าปลวก ทิ้งไว้สัก 2-3 วัน และดูอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ทำลายให้สิ้นซาก 
       4. ฉีดสารเคมีเคลือบโครงไม้ โดยให้ซึมผ่านเนื้อไม้ เน้นตามรอยเลื่อนรอยต่อ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของปลวก มอด ด้วง และเชื้อราต่างๆ ด้วย 
       5. เลือกไม้ที่นำมาก่อสร้างที่มีความทนทานต่อการทำลาย เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ชิงชัน และไม้ประดู่ แต่ถ้าใช้ไม้เนื้ออ่อน ควรทำการอานน้ำยาป้องกันเสียก่อน 
       6. ตรวจดูโครงสร้างของบ้านที่เป็นไม้ต่างๆ ทุกปี หากเจอต้องรีบกำจัดทิ้งโดนเร็วที่สุด ก่อนจะลุกลามไปมากกว่านี้ 
       7. อย่าปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้ตัวบ้านมากนัก อย่างน้อยก็ขอให้ห่างในระยะที่รากไม่สามารถเข้าถึงใต้ตัวบ้าน เนื่องจากปลวกจะใช้ช่องทางรากไม้เข้ามาในบ้านได้ 
       8. หากเจอแมลงเม่าจำนวนมหาศาล ต้องพยายามป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาภายในบ้านได้ เพราะแมลงเม่าคือต้นตอของการกำเนิดปลวกทั้งหมด เมื่อเข้ามาได้ มันจะเริ่มทำรัง และวางไข่กลายเป็นปลวกต่อได้ในอนาคต

สารเคมีใช้กำจัดปลวก 
       1. Chlorinated Hydrocarbon เป็นสารกำจัดแมลงที่ส่วนใหญ่เลิกผลิต และห้ามใช้ในหลายประเทศ เพราะมีพิษตกค้างนาน และสะสมในไขมันของสัตว์และคนตัวอย่างเช่น DDT, Aldrin, Dieldrin, Heptachlor และที่นิยมใช้กำจัดปลวกมากที่สุด คือ Chlordanet 
       2. Organophosphates เป็นสารที่มีอันตรายต่อคน และสัตว์มีกระดูกสันหลังมากกว่า Chlorinated hydrocarbon แต่พิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมสั้นกว่า ที่ใช้ในการกำจัดปลวกคือ Chlorpyrifos เพื่อทำเป็นแนวป้องกันปลวกโดยสามารถฆ่าปลวกได้ทันทีเมื่อถูกสารนี้กำลังออกมาตรการเลิกใช้ในบางประเทศแล้ว เช่น ในอเมริกา ห้ามใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นไป 
       3. สาร Pyrethroids สังเคราะห์ เดิมเป็นสารสกัดจากพืช ที่เคยนำมาใช้ในการปราบแมลงทั่วไป คือ Pyrethrin ซึ่งสกัดจากพืชในสกุล Chrysanthemum ซึ่งเป็นพืชในกลุ่มเบญจมาศ หรือเก๊กฮวยในบ้านเราแต่มีการสลายตัวในธรรมชาติรวดเร็วเกินไปจึงใช้กำจัดปลวกไม่ได้ 
       ปัจจุบันได้สังเคราะห์สารนี้ขึ้นมาใหม่ ให้มีความคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นจึงสามารถใช้กำจัดปลวกได้เรียกสารในกลุ่มนี้ว่า Pyrethroid สังเคราะห์ (Synthetic pyrethroids) ซึ่งมีกลิ่นอ่อน แต่เป็นอันตรายสูงต่อปลา เมื่อใช้กำจัดปลวก ปลวกสามารถรับรู้ได้ทันที สารพวกนี้จึงทำหน้าที่เป็นสารไล่ปลวก อาจมีปลวกเพียงจำนวนน้อยที่ตายเพราะโดนสารนี้โดยตรง ตัวอย่างของสารสังเคราะห์ในกลุ่มนี้ที่ใช้กำจัดปลวก เช่น Permethrin, Cypermethrin, Bifenthrin, Deltamethrin และ Fenvalerate 
       4. Chloronicotinyls เป็นสารเคมีชนิดใหม่ที่ผลิตในปี 2539 มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อย ไม่มีกลิ่น และปลวกรับรู้ไม่ได้ เมื่อปลวกสัมผัสสารนี้จะหยุดกินอาหาร เดินผิดปกติ และตายในที่สุด ปลวกที่รอดตายจะถูกโรคเข้าทำลายง่าย และตายจากโรคต่างๆ สารในกลุ่มนี้คือ Imidacloprid 
       5. Fluoroaliphatic Sulfonamides เป็นสารชนิดใหม่ที่ใช้ในปลวก คือ Sulfluramid เป็นสารออกฤทธิ์ช้า ประเภทกินตาย ใช้ผสมกับอาหารปลวก ได้แก่ เศษไม้ กระดาษ เพื่อทำเป็นเหยื่อล่อ ได้ผลไม่ค่อยดีนัก สามารถลดจำนวนของปลวกลงได้ แต่มักไม่ทำให้ปลวกตายทั้งรัง 
       6. Phenyl Pyrazoles เป็นสารกำจัดปลวกชนิดใหม่ที่ผลิตในปี 2541 คือ Fipronil จากการทดสอบของหน่วยงานบางแห่งในอเมริกาพบว่าใช้กำจัดปลวกได้ผลดีมาก 
       7. สารอนินทรีย์ เช่น 
      • Borates เป็นสารประกอบของ Boron เช่น กรด Boric และ Borax ใช้ป้องกันกำจัดแมลงอื่นมานาน สำหรับทาไม้ มีกลิ่นอ่อน ปลวกรับรู้ไม่ได้ เมื่อปลวกกินเนื้อไม้ที่ทาด้วยสารเหล่านี้จะตาย สาเหตุอาจเนื่องมาจากจุลินทรีย์ช่วยย่อยไม้ในทางเดินอาหารปลวกตาย 
      • สารหนูเขียว เดิมนิยมใช้เป็นสารพิษโรยบนตัวปลวกงาน เพื่อให้แพร่กระจายไปยังตัวอื่น ทำให้ปลวกตายทั้งรัง ปัจจุบันในบางประเทศห้ามใช้ เพราะมีอันตรายสูง 
       8. สารเคมียับยั้งการลอกคราบของปลวก (Insect Growth Regulators) มีผลทำให้ตัวปลวกอ่อนที่ได้รับสารนี้ลอกคราบไม่ได้ และตายไปในที่สุด มีอันตรายน้อยต่อคนและสัตว์ มักใช้ร่วมกับเหยื่อล่อ หรือเป็นผงสำหรับพ่นให้ถูกตัวปลวกงานโดยตรง ปลวกที่ได้รับสารนี้จะไม่ตาย แต่จะเป็นตัวแพร่กระจายไปยังสมาชิกตัวอื่นในรัง โดยการสัมผัสทางปาก และร่างกาย มีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลานานกว่าปลวกจะตายทั้งรัง แต่ถ้าผสมสารพิษบางอย่างเข้าไป จะทำให้ตายเร็วขึ้น สารเคมีในกลุ่มนี้คือ Hexaflumuron และ Diflubenzuron 
       9. จุลินทรีย์ เช่น ไส้เดือนฝอยในสกุล Steinernema และเชื้อรา Metarhizium anisopliae ซึ่งมักไม่ค่อยได้ผล เพราะขึ้นกับสภาพแวดล้อม เช่น ไม่ชอบสภาพดินที่แห้งเกินไป แต่ถ้าใช้ร่วมกับการใช้เหยื่อล่อ โดยจับปลวกจำนวนมากให้สัมผัสกับเชื้อราโดยตรงแล้วปล่อยกลับไปจะได้ผลดีมาก



วันที่เขียนบทความ: 08 เมษายน 2554 เวลา: 00:00:00 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 14 ตุลาคม 2555 เวลา: 13:41:35 น.




กลับหน้าบทความ