พระนางพญา แห่งเมือง “สองแคว”
พระนางพญา ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ2444 ที่กรุ “วัดนางพญา” จ.พิษณุโลก ซึ่ง ณ ปัจจุบัน(2555) ฏ้เป็นเวลาร่วมนับร้อยกว่าปีที่นับจากพระนางพญากรุแตก ซึ่งพระนางพญานั้นเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันมานานควบคู่กับพระสมเด็จ และยังถูกยกให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดพระเครื่องเบญจภาคีสุดยอดชุดพระเครื่องแห่งเมืองไทยอีกด้วย
พระนางพญาเป็นพระที่มีรูปร่างลักษณะที่เด่นชัดที่สุด คือ จะเป็นพระรูปสามเหลี่ยม ประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ เป็นพระที่มีศิลปและอายุสมัยอยุธยาแต่จะสร้างสมัยกษัตริย์พระองค์นั้นไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด ซึ่งได้แต่สันนิฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นมาในสมัย พระมหาธรรมราชา และพระมเหสีพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) อยู่ในราวปีพุทธศักราช 2095-2100 โดยให้เหตุประกอบว่าเป็นเพราะพระองค์ครองเมืองนี้ในระหว่างปีพุทธศักราชดังกล่าว ซึ่งการค้นพบพระนางพญาแห่งวัดนางพญาครั้งแรกนั้น เนื่องจากมีการขุดดินเพื่อที่จะการสร้างศาลาวัด โดยเมื่อขุดดินลงไปนั้นก็เจอพระนางพญาเป็นจำนวนมาก พระนางพญาบางองค์ก็อยู่สภาพสมบูรณ์ บางองค์ก็อยู่ในสภาพที่มีการชำรุดแตกหักเนื่องจากเจออากาศภายนอกหลังจากที่กรุบรรจุพระแตก ราคาพระนางพญา ณ ตอนนั้น บูชากันในราคามูลค่าเพียงไม่กี่บาท เฉลี่ยราวองค์ละ 2-3 บาท (แต่ถ้าคิดดูแล้วสมัยเมื่อปี พ.ศ.2444 ก็น่าจะเยอะอยู่นะครับ) แต่ถ้าองค์ในสภาพพระสมบูรณ์ไม่มีส่วนชำรุดหักแตก ก็จะอยู่ราวองค์หลักสิบบาท(ร้อยกว่าปีที่แล้วสิบบาทคงจะไม่น้อยเหมือนกัน)
พระนางพญาแห่งวัดนางพญาที่ถูกค้นพบนั้นมีพิมพ์แตกต่างกันออกไป มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อมโดยทางวงการพระเครื่องเมืองไทยแบ่งออกตามลักษณะด้วยกันทั้งหมด 7 พิมพ์ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.พิมพ์เข่าโค้ง
2.พิมพ์เข่าตรง
3.พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า)
4.พิมพ์อกนูนใหญ่
5.พิมพ์สังฆาฎิ
6.พิมพ์เทวดา
7.พิมพ์อกนูนเล็ก
ซึ่งลักษณะทั่วไปโดยรวมของพระนางพญานั้น “ด้านหน้า” เป็นพระพุทธประทับนั่งปางมารศรีวิชัย อยู่ในกรอบสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏตาหน้าของพระพักตร์ เห็นเสส้นสังฆาฎิขององค์พระค่อนข้างชัดเจน “ด้านหลัง” ไม่มีลวดลายใดๆ แต่จะมีเห็นรอยนิ้วมือมากน้อยแตกต่างกันไป “ด้านข้าง” เป็นการตอกตัด กรอบอาจจะชิดองค์พระหรือห่างต่างกันไม่แน่นอน ถูกสร้างมาจากเนื้อดินเผา มีสีแตกต่างกันออกไปบ้าง โดยจะขึ้นอยู่กับการเผาและสภาพการเก็บรักษาขององค์พระ
แต่นอกจากจะมีการขุดพบพระนางพญาในครั้งแรกแล้วนั้น ก็ได้ยังมีการขุดพบพระนางพญาอีกหลายครั้งหลายกรุเช่นกัน เช่น การขุดพบพระนางพญาที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2532 การขุดพบพระนางพญาที่วัดอินทรวิหาร ในปี พ.ศ.2479 ซึ่งถูกบรรจุในบาตรเก็บบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง
ราคาของพระนางพญา ณ ปัจจุบันนั้นเป็นที่รู้กันดีในบรรดาเหล่าเซียนพระและนักสะสม อยู่ในช่วงระหว่างหลักแสนจนไปถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ขององค์พระ และความชอบบวกกับความศรัทธาของบรรรดาผู้ที่ต้องการนำไปบูชาเสริมบุญบารมี พุทธคุณของพระนางพญานั้นขึ้นชื่อลือชาในด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดปลอดภัย จึงได้ถูกยกให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดพระเครื่องเบญจภาคีสุดยอดชุดพระเครื่องแห่งเมืองไทย
วันที่เขียนบทความ: 19/12/2024 เวลา: 12:10:38 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 19/12/2024 เวลา: 11:12:27 น.
กลับหน้าบทความ