l เข้าสู่ระบบ l สมัครสมาชิก | ช่วยเหลือ l

นัด24ออนช๊อป
ร้าน ใจชนะ เซอร์วิส
หน้าร้านค้า       บทความ       วิธีชำระเงิน       เกี่ยวกับเรา / ติดต่อเรา      

พลังแห่งความศรัทธา…ที่มาของพระร่วงรางปืน


จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน ก็ต้องยกย่องให้แก่"พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งเป็นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมากและพระที่พบจำนวนน้อยนั้นยังมีพระที่ชำรุดอีก ด้วย พระร่วงหลังรางปืนมีเอกลักษณ์ที่ด้านหลังเป็นร่องรางจึงเป็นที่มาของชื่อพระว่า พระร่วงรางปืนในเวลาต่อมา

พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ถูกลักลอบขุดจากบริเวณพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่าชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แต่เดิมพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างลพบุรี สร้างขึ้นเป็นพุทธาวาสโดยตรง ได้รับการปฏิสังขรณ์และแก้ไขดัดแปลงหลายครั้งหลายครา ทั้งในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาได้รับการขุดโดยกรมศิลปากรครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2497

การค้นพบพระร่วงรางปืน
พระร่วงหลังรางปืนได้ถูกคนร้ายลักลอบขุดในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2499 เวลาประมาณตี 3 คณะของคนร้ายมี 4 คน ลักลอบขุดเจาะฐานพระพุทธรูปในพระวิหารด้านทิศตะวันตกขององค์พระปรางค์ และได้งัดเอาศิลาแลงออกไปประมาณ 8 ก้อน พบไหโบราณ 1 ใบ อยู่ในโพรงดินปนทรายลักษณะคล้ายหม้อทะนน หรือกระโถนเคลือบสีขาว สูงประมาณ 16 นิ้วเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ภายในบรรจุพระพุทธรูปสกุลช่างลพบุรี 5 องค์ คือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเทริด เนื้อสำริด สูง 10 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ พระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ และ พระร่วงรางปืน ประมาณ 240 องค์ ไหโบราณและพระพุทธรูปทั้งหมดต่อมาได้นำมาขายที่แถวๆ เวิ้งนครเกษม พระร่วงรางปืน ที่ได้ในครั้งนี้เป็นพระร่วงหลังรางปืนที่ชำรุดเสียประมาณ 50 องค์ ที่เหลืออยู่ก็ชำรุดเล็กน้อยตามขอบๆ ขององค์พระ พระที่สวยสมบูรณ์จริงๆ นับได้คงไม่เกิน 20 องค์ พระร่วงของกรุนี้เป็นพระเนื้อชินสนิมแดง ที่ด้านหลังพระร่วงกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร่องราง เลยเป็นที่มาของชื่อ"พระร่วงหลังรางปืน" และมีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่พบน้อย และที่ด้านหลังของพระจะเป็นรอยเส้นเสี้ยน หรือลายกาบหมากทุกองค์

ในตอนนั้นพวกที่ลักลอบขุดเจาะได้แบ่ง พระร่วงรางปืนกันไปตามส่วน และนำพระร่วงรางปืนออกมาจำหน่าย เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีคนจากกรุงเทพฯ เดินทางไปเช่าหากันจนราคาพระสูงขึ้นเป็นอันมาก และพระก็ได้หมดไปในที่สุด พระร่วงรางปืน ที่พบของกรุนี้ในปัจจุบันได้แบ่งแยกออกเป็น พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์ฐาน ต่ำ ข้อแตกต่างก็คือที่ฐานขององค์พระจะสูงและบางต่างกัน นอกนั้นรายละเอียดจะเหมือนๆ กัน ลักษณะร่องรางของด้านหลังก็ยังแบ่งออกได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่อง รางกว้าง ที่สำคัญพระร่วงหลังรางปืนจะปรากฏรอยเสี้ยนทั้งสองแบบ

เนื้อและสนิมของพระร่วงหลังรางปืน จะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง วรรณะของสนิมออกแดงแกมม่วงสลับไขขาว สีของสนิมแดงในพระของแท้จะมีสีไม่เสมอกันทั้งองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีสีอ่อนแก่สลับกันไป ส่วน"พระร่วงหลังรางปืน"ของเทียมมักจะมีเสมอกันทั้งองค์ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม การแตกของสนิมมักแตกไปในทิศทางต่างๆ กันสลับซับซ้อน


วันที่เขียนบทความ: 19/12/2024 เวลา: 12:31:58 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 19/12/2024 เวลา: 11:12:54 น.



กลับหน้าบทความ